วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

     ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดนครพนม
         การแห่งปราสาทผึ้ง  เป็นประเพณีโบราณอีสาน มุ่งทำเป็นพุทธบูชา หรือเกี่ยวข้อง กับความเชื่อทางศาสนา คำว่า "ปราสาทผึ้ง" ในภาษาอีสานจะออกเสียง "ผาสาทเผิ่ง"
          
                                                               


       ความสาคัญของประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง การแห่งปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีโบราณอีสาน มุ่งทาเป็นพุทธบูชา หรือเกี่ยวข้อง กับความเชื่อทางศาสนา คาว่า "ปราสาทผึ้ง" ในภาษาอีสานจะออกเสียง "ผาสาทเผิ่ง"งานแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษาของชาวอีสาน ช่วงเวลา เทศกาลวันออกพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัด แต่ก็ไม่จัดใหญ่โตและปฏิบัติต่อเนื่องเช่นของเมืองสกลนคร ชาวสกลนครมีการฉลองเทศกาลออกพรรษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ด้วยการสร้าง ปราสาทผึ้ง ถวายเป็นพุทธบูชาโดยยึดคติความเชื่ออยู่ 2 กระแส คือที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเวลาผู้คนและเป็นของสูง หากเป็นที่ประทับของ พระราชาก็เรียกว่า พระราชวัง ถ้าเป็นที่อยู่ของเศรษฐีก็เรียกว่า คฤหาสน์ ส่วนสถานที่จาพรรษาของพระภิกษุสามเณรนิยมเรียกว่า กุฏิ สาหรับที่อยู่ของคนธรรมดาสามัญพากันเรียกว่า "บ้าน"ส่วนความเชื่ออีกกระแสหนึ่ง สืบเนื่องมาจากครั้งพุทธกาลได้มีพระภิกษุชาวโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกัน ระหว่างพระธรรมธรฝ่ายหนึ่งกับพระวินัยธรอีกฝ่ายหนึ่ง แม้พระพุทธองค์ทรงตักเตือนสักเท่าใดก็ไม่ฟัง จึงเสด็จหนีความราคาญเหล่านั้นไปพักอยู่ที่ป่ารักขิตวัน ซึ่งที่ป่านั้นมีพญาช้างและพญาวานรคอยเป็นอุปัฏฐากพระพุทธองค์ โดยพญาช้างมีหน้าที่ตักน้า ส่วนพญาวานรเป็นผู้หาผลไม้มาถวายเป็นประจาตลอดพรรษา อยู่มาวันหนึ่งพญาวานรได้ไปพบรวงผึ้งบนต้นไม้เข้า จึง เก็บมาถวายแด่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับรวงผึ้งนั้นแล้วทาให้พญาวานรดีใจมาก ถึงกับกระโดดโลดแล่นไปบนต้นไม้กระโจน ไปมาบนคาคบ เกิดพลาดพลัดตกลงมาถึงแก่ความตาย ด้วยอานิสงส์จากการได้ถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธเจ้า ทาให้พญาวานรได้ไปเกิด เป็นพรหมบนสวรรค์ด้วยความเชื่อทั้งสองกระแสจึงเป็นที่มาของประเพณีปราสาทผึ้ง

        อย่างไรก็ดีในสาระของความต้องการบุญกุศลส่วนตัวดังกล่าวมาแล้วยังมีสาระที่ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ ซึ่งอาจได้มา จากคติของชาวจีนที่ทามาหากินในสกลนคร ที่ทาการตักเป็นรูปทรงบ้านเรือนอาคารเผาอุทิศให้ผู้ตาย แต่หากดัดแปลงเป็นการสร้าง อาคารเป็นทรงหอผี ประดับด้วยดอกผึ้งถวายพระสงฆ์อุทิศให้ผู้วายชนม์การทาปราสาทผึ้งส่วนมากในอีสานนิยมทากันมาแต่โบราณ ด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่า 1. เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว 2. เพื่อตั้งความปรารถนาไว้หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอ ให้ม มีปราสาทอันสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจานวนมาก 3. เพื่อรวมพลังสามัคคีทาบุญร่วมกัน พบประ สนทนากันฉันท์พี่น้อง 4. เพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรม ทางบุญทาง กุศลให้ปรากฏโดยชาวคุ้มวัดต่าง ๆ ร่วมข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน บริจาคเงิน ตามศรัทธาพร้อมกัน ทาปราสาทผึ้ง กาหนดเอาวันเทศกาลออกพรรษาเป็นวันจัดงาน วันแรกแข่ง เรือ วันที่สองแห่ปราสาทผึ้ง วันที่ สามทาบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมควร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น